ยางคลอโรพรีน (Chloroprene Rubber)

ยาง CR หรือ ยางคลอโรพรีน (Chloroprene Rubber) มีชื่อทางการค้าที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ยางนีโอพรีน (Neoprene Rubber) เป็นยางที่สังเคราะห์มาจากมอนอเมอร์ของคลอโรพรีน (Chloroprene Rubber) โดยโมเลกุลของยางชนิดนี้มีการจัดเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ ทำให้ยางชนิดนี้สามารถตกผลึกได้เมื่อถูกยืด ยางชนิดนี้จึงทนต่อแรงดึง และแรงฉีกขาดได้ดีเยี่ยม และนอกจากนี้ยางชนิดนี้ยังมีคุณสมบัติที่หลากหลาย อาทิเช่น สามารถทนต่อสภาพอากาศ ความร้อน และโอโซน อีกทั้งยังป้องกันการลามไฟได้ดีอีกด้วย

Untitled-3
สูตรโครสร้างของยาง CR

 

คุณสมบัติโดยทั่วไปของยาง CR

  1. อุณหภูมิการใช้งาน ยาง CR สามารถใช้งานได้ที่ อุณหภูมิ -30 ºC ถึง +140 ºC
  2. ความเหนียวติดกัน (Tack) ยาง CR มีสมบัติดีเยี่ยมในด้านความเหนียวติดกัน จึงไม่เกิดปัญหารอยต่อของชิ้นงานระหว่างการขึ้นรูป
  3. ความทนต่อแรงดึงและแรงฉีกขาด (Tensile and Tear Strength) เนื่องจากโมเลกุลของยาง CR มีความเป็นระเบียบสูง จึงทำให้สามารถตกผลึกได้ง่ายเมื่อถูกยืด ยางชนิดนี้จึงสามารถทนต่อแรงดึงได้ดี
  4. การติดไฟ (Flammability) ยางชนิดนี้มีคุณสมบัติเด่นในด้านการลามไฟ นั่นคือ เปลวจะดับเอง หลังจากที่นำเปลวไฟออกไป (Self-Extinguish) เนื่องจากยางชนิดนี้มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ (ทั้งนี้การดับไฟจะขึ้นกับปริมาณของคลอรีน)
  5. ความทนต่อการเสื่อมสภาพ (Aging properties) ยาง CR สามารถทนต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากอากาศ โอโซน ความร้อน และ แสงแดด ได้ดี เนื่องจากยางชนิดนี้มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ
  6. ความเป็นฉนวน (Insulation) ยางชนิดนี้มีค่าความเป็นฉนวนต่ำ ไม่เหมาะกับการนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์จำพวก สายไฟ หรือสายเคเบิ้ล แต่เหมาะสมในการออกแบบมาเป็นแผ่นยางนำไฟฟ้า หรือกึ่งนำไฟฟ้า
  7. ความทนต่อน้ำมันและสารเคมี (Oil and Chemical Resistance) ยาง CR สามารถทนการบวมพองต่อน้ำมัน และกรด-ด่าง เจือจาง ได้ปานกลาง ถึงดี

ผลิตภัณฑ์ CR

รวมCR
ผลิตภัณฑ์ ยาง CR

ยาง CR มีคุณสมบติที่หลากหลาย โดยโดดเด่นทั้งในเรื่องของการทนต่อสภาพอากาศ ความร้อน โอโซน และแสงแดด ได้ดี อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในเรื่องของการป้องกันการลามไฟ ดังนั้น ยาง CR จึงนิยมนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิ เช่น แผ่นยางเรียบแผ่นยางมีลาย, ซีล, ประเก็นท่อยางยางไดอะแฟรมฟองน้ำ อีกทั้งยังสามารถนำมาเสริมแรงเป็นแผ่นยางเสริมผ้าใบได้อีกด้วย

 

Download:  ยางคลอโรพรีน (Chloroprene Rubber)

ที่มา : ดร. พงษ์ธร แซ่อุ่ย, “ยาง ชนิด สมบัติ และการใช้งาน”, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ, 2547

By Enjoy Wissen

6 April 2018

PTI WISSEN TEAMS

Polytech Industry Company Limited

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s