ยาง NBR หรือยาง อะไครโลไนไตร์ล์ บิวตาไดอีน (Acrylonitrile Butadiene Rubber)

ยาง NBR หรือยาง อะไครโลไนไตร์ล์ บิวตาไดอีน (Acrylonitrile Butadiene Rubber) โดยยางชนิดนี้มีชื่อทางการค้า คือ Buna N® เป็นยางที่มีคุณลักษณะโด่ดเด่นเฉพาะ นั่นคือ มีความทนต่อน้ำมัน น้ำมันปิโตรเลียม และตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วได้ดี โดยโครงสร้างทางเคมี ของ ยาง NBR คือ โคพอลิเมอร์ของ อะไครโลไนไตร์ล (Acrylonitrile monomer) และ บิวตาไดอีน (butadiene monomer) และมีปริมาณของอะไครโลไนไตล์ตังแต่ 18-50% จากโครงสร้างโมเลกุล โดยที่อุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (Tg) จะอยู่ในช่วง -35 ºC ถึง 0 ºC ขึ้นกับปริมาณของอะครโลไนไตร์ล กล่าวคือ ค่ายาง NBR หรือยาง อะไครโลไนไตร์ล์ บิวตาไดอีน อุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว จะสูงขึ้นตามปริมาณอะไครโลไนไตร์ล

Untitled-1

สูตรโครงสร้างของยาง NBR

สมบัติของยาง NBR จะแปลผันตรงตามสัดส่วนของอะไครโลไนไตร์ลที่มีอยู่ในโมเลกุลโดยทั่วไป เมื่อปริมาณของอะไครโลไนไตร์ลสูงขึ้นจะทำให้สมบัติของยาง NBR เปลี่ยนไป ดังนี้

  • ความทนทานต่อน้ำมันปิโตรเลียม และตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอนสูงขึ้น
  • การกระเด้งกระดอนต่ำลง
  • Compression set ด้อยลง
  • อัตราการซึมผ่านของแก๊สลดลง
  • สมบัติการหักงอที่อุณหภูมิต่ำด้อยลง
  • ความทนทานต่อความร้อนและโอโซนสูงขึ้น
  • ความต้านทานต่อการขัดถูสูงขึ้น
  • ความหนาแน่นสูงขึ้น

คุณสมบัติของยาง NBR

  1. อุณหภูมิการใช้งาน ยางธรรมชาติสามารถใช้งานได้ที่ อุณหภูมิ -35 ถึง +120 ºC
  2. ความยืดหยุ่น (Elasticity) ค่าความยืดหยุ่นของยาง NBR จะขึ้นกับปริมาณของอะไครโลไนไตร์ล เมื่อปริมาณของอะไครโลไนไตร์ลสูงขึ้น ค่าความยืดหยุ่นของยาง NBR จะลดลง
  3. ความทนต่อแรงดึง (Tensile Strength) เนื่องจากยาง NBR ไม่สามารถตกผลึกได้เมื่อถูกยืด ทำให้ยางชนิดนี้ทนต่อแรงดึงได้ต่ำ
  4. ความต้านทานต่อการขัดถู (Abrasion Resistance) ยาง NBR ที่มีความต้านทานต่อการขัดถูสูงมาก
  5. ความทนทานต่อการเสื่อสภาพ (Aging Properties) ยาง NBR เป็นยางที่มีความต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อนได้สูง โดยความทนต่อการเสื่อมสภาพยังขึ้นอยู่กับสูตร และการผสมเคมียางอีกด้วย แต่ถึงแม้ว่ายาง NBR จะทนต่อการเสื่อมสภาพเนื่องจากความร้อนได้สูง แต่ยางชนิดนี้ไม่ทนต่อสภาพอากาศ และโอโซน จึงต้องมีการเติมสารป้องกันการเสื่อมสภาพ
  6. ความทนต่อน้ำมัน (Oil Resistance) เนื่องจากยาง NBR เป็นยางที่มีขั้วค่อนข้างสูง จึงทนต่อน้ำมัน (น้ำมันพืชม น้ำมันสัตว์ น้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันปิโตรเลียม) ละตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วได้ดี

ผลิตภัณฑ์ยาง NBR

DSC_0015

ยาง NBR มีคุณสมบัติเด่นในเรื่องของการทนน้ำมัน และทนแรงขัดถูได้ดีเยี่ยม ดังนั้น ยาง NBR จึงนิยมนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิ เช่น แผ่นยางเรียบแผ่นยางมีลาย, ซีล, ประเก็นท่อดูดส่งน้ำมันยางไดอะแฟรมแผ่นยางยิงทรายอีกทั้งยังสามารถนำมาเสริมแรงเป็นแผ่นยางเสริมผ้าใบได้อีกด้วย

 

Download: ยาง NBR หรือยาง อะไครโลไนไตร์ล์ บิวตาไดอีน (Acrylonitrile Butadiene Rubber)

ที่มา : ดร. พงษ์ธร แซ่อุ่ย, “ยาง ชนิด สมบัติ และการใช้งาน”, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ, 2547

By Enjoy Wissen

31 March 2018

PTI  WISSEN  TEAMS

Polytech Industry Company Limited

 

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s