ยาง FKM/FPM หรือยางฟลูออโรคาร์บอน (Fluorocarbon Rubber)

ยาง FKM/FPM หรือยางฟลูออโรคาร์บอน (Fluorocarbon Rubber) มีชื่อทางการค้าที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ยางไวตัน โดยยางชนิดนี้เป็นโคพอลิเมอร์ที่มีฟลูออรีนเป็นองค์ประกอบในปริมาณสูง ซึ่งฟลูออรีนนอกจากจะทำให้ยางมีความเป็นขั้ว และมีความเสถียรสูงมากแล้ว ยังทำให้ยางทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากอากาศ ความร้อน และปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ดีเยี่ยมอีกด้วย อีกทั้งยางชนิดนี้ยังมีคุณสมบัติโดดเด่นกว่ายางชนิดอื่นๆ เนื่องจาก ทนได้ทั้งน้ำมัน สารเคมี และกรดเข้มข้น ได้ดีอีกด้วย โดยค่าอุณหภูมิการเปลี่ยนสถานะคล้ายแก้ว (Tg) ของยาง FKM/FPM อยู่ที่ประมาณ -50 ºC ถึง  -18 ºC ขึ้นกับปริมาณของฟลูออรีนภายในยาง

copolymer

โครงสร้างทางเคมีของโคพอลิเมอร์ยางฟลูออโรคาร์บอน

คุณสมบัติโดยทั่วไปของยาง FKM/FPM

  1. อุณหภูมิการใช้งาน (Service Temperature) ยาง FKM/FPM สามารถใช้งานได้ที่ อุณหภูมิ -30 ºC ถึง +260 ºC
  2. ความทนต่อการเสื่อมสภาพ (Aging Properties) ยางฟลูออโรคาร์บอนสามารถทนต่อความร้อนได้สูงมาก อีกทั้งภายในยางยังประกอบไปด้วยพันธะอิ่มตัวทั้งหมด (ไม่มีพันธะคู่ภายในโมเลกุล) ทำให้สามารถทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากอากาศ, แสงแดด, ออกซิเจน, โอโซน และความร้อนได้ดีเยี่ยม
  3. ความทนต่อน้ำมันและสารเคมี (Oil and Chemical Resistance) ยางชนิดนี้ทนต่อน้ำมันปิโตรเลียม น้ำมันเชื้อเพลิง ตัวทำละลายไฮโดรคาร์บอน กรด และสารเคมีต่างๆได้ดี แต่ไม่ควรนำยางชนิดนี้มาใช้กับ
    • ตัวทำละลายมีขั้ว เช่น คีโตน และ อีเทอร์
    • กรดไฮโดรฟลูออริค กรดฟอร์มิค กรดอะซิติค และกรดซัลโฟนิค
  4. ความทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากรังสี (Radiation Resistance) ยาง FKM/FPM สามารถทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากรังสีสูงมาก
  5. ความเป็นฉนวน (Insulation) ยาง FKM/FPM มีค่าความเป็นฉนวนปานกลาง

ผลิตภัณฑ์ FKM/FPM

viton1

ผลิตภัณฑ์ยางฟลูออโรคาร์บอน

เนื่องจากยาง FKM/FPM โดดเด่นทั้งในด้านทนน้ำมันและสารเคมี อีกทั้งยังทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดีเยี่ยม การนำมาใช้งานจึงค่อนข้างพิเศษ และแตกต่างจากยางชนิดอื่นๆ ดังนั้น ยาง FKM/FPM จึงนิยมนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ อาทิ เช่น แผ่นยางฟลูออโรคาร์บอน ซีลยางขอบประตูตู้อบ โอริงคอร์ด O-ring Cord สายพาน ท่อน้ำมันเชื้อเพลิง ปะเก็น และชิ้นส่วนยานยนต์ต่างๆ เป็นต้น

Download: ยาง FKM or FPM หรือยางฟลูออโรคาร์บอน (Fluorocarbon Rubber)

ที่มา : ดร. พงษ์ธร แซ่อุ่ย, “ยาง ชนิด สมบัติ และการใช้งาน”, ศูนย์เทคโนโลยีโลหะ และวัสดุแห่งชาติ, 2547

By Enjoy Wissen

21 April 2018

PTI WISSEN TEAMS

Polytech Industry Company Limited

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s