ไฟฟ้าสถิตย์ (Static Electricity หรือ Electrostatic Discharge)
ไฟฟ้าสถิตย์ เกิดจากความไม่เป็นกลางของจำนวนประจุไฟฟ้าบนพื้นผิวของวัตถุ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้ว + และ ขั้ว – บนพื้นผิวของวัตถุมีไม่เท่ากัน จึงเกิดการถ่ายเทประจุบวก หรือประจุลบ ระหว่างสองวัตถุ หรือเกิดการสูญเสียประจุให้กับวัตถุที่เป็นกลาง วัตถุที่สูญเสียความเป็นกลางทางไฟฟ้า จะสามารถดึงดูดวัตถุอื่นที่มีมวลเบาๆได้ด้วยแรงทางไฟฟ้า (Electric Force) และ การเกิดไฟฟ้าสถิตย์ที่พบได้บ่อยคือ เมื่อเราสัมผัสกับประตูหรือลูกบิดที่เป็นโลหะ ทำให้เรารู้สึกเสมือนไฟฟ้าช็อต เนื่องจากเมื่อใส่รองเท้าเดินบนพื้น จะเกิดการเสียดสีระหว่างพื้นรองเท้า กับพื้น จึงทำให้เกิดการสะสมประจุ โดยร่างกายของเราเป็นตัวกลางทางไฟฟ้าที่ดี ดังนั้น เมื่อเราจับประตู หรือลูกบิด จึงทำให้เรารู้สึกเสมือนถูกไฟฟ้าช็อต ดังนั้น วิธีการป้องไฟฟ้าสถิตย์จึงมีหลายวิธีด้วยกัน อาทิ เช่น ใส่รองเท้าป้องกันไฟฟ้าสถิตย์, ถุงมือป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ย์ และการใช้แผ่นยางป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ย์ (ESD Rubber Sheet) โดยวิธีการใช้แผ่นยางป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ย์ เป็นวิธีที่สะดวก และ ปลอดภัยต่อการใช้งานสูงมาก
แผ่นยางป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ (ESD Rubber Sheet) เป็นวัสดุสำหรับป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ ที่ถูกสร้างขึ้น สามารถช่วยเคลื่อนย้ายประจุและถ่ายเทประจุไฟฟ้าที่มีในวัสดุได้ นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันกระแสไฟฟ้าเมื่อมีการสัมผัสกันระหว่างวัตถุ2 ชนิด เช่น การสัมผัสระหว่างร่างกายมนุษย์กับชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีความไวต่อประจุไฟฟ้า ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณสมบัติทางไฟฟ้าของชิ้นงาน และทำให้มีผลต่อประสิทธิภาพหรืออาจทำลายชิ้นงานนั้น ๆ ได้

แผ่นยางป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ Top Layer Surface จะทำหน้าที่ในการถ่ายเทประจุ (Dissipative Layer) และ ส่วน Bottom Layer Surface จะทำหน้าที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า (Conductive Layer) จึงทำให้ไม่เกิดสะสมประจุบริเวณที่เสียดสีกับบริเวณพื้นผิวของแผ่นยางป้องกันไฟฟ้าสถิตย์
Download: ไฟฟ้าสถิตย์ (Static Electricity หรือ Electrostatic Discharge)
ปรึกษา และสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของ Electromer
ได้ที่ 086–307–7319
By Enjoy Wissen (5 May 2018)
PTI WISSEN TEAMS
Polytech Industry Company Limited