
Q : ท่อยางเสริมแรง ( Reinforce Hose ) คืออะไร
A : คือ อุปกรณ์รูปทรงกระบอกกลวงที่สามารถโค้งงอได้ออกแบบมาเพื่อเคลื่อนย้ายของเหลว ของแข็ง และแก๊ส จากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง โดยมีวัสดุเสริมแรง ( reinforcement ) เช่น เส้นสวดถัก ผ้าใบ เป็นต้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับท่อยาง ในอุตสาหกรรม ซึ่งโดยทั่วไปมีส่วนประกอบดังนี้

- ยางชั้นใน ( Tube ) จำเป็นต้องทนกับสภาวะของเหลว ของแข็ง และแก๊ส ที่ลำเลียงได้ เช่น ทนการกัดกร่อน ทนน้ำมัน ทนสารเคมี เป็นต้น
- วัสดุเสริมแรง ( Reinforcement ) เช่น เส้นลวดถัก ผ้าใบ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้ท่อยาง
- ยางชั้นนอก ( Cover ) ส่วนเสริมแรงและต้องสามารถทนกับสภาวะภายนอกได้ เช่น ทนความร้อน โอโซน และความดัน
Q : การเสริมแรงมีข้อดีอย่างไร
A : การเสริมแรง มีข้อดีคือ เป็นการช่วยให้ท่อยางทนต่อการสึกกร่อน ทนความร้อน ทนความดัน ทนน้ำมันทนสารเคมี และทนต่อสภาพอากาศ
Q : วัสดุที่ใช้เป็นตัวเสริมแรงมีอะไรบ้าง
A : 1. เส้นใยผ้า ได้แก่ โพลีเอสเทอร์ (Polyester), ไนลอน( Nylon), คอตตอน(Cotton), ไฟเบอร์กลาส ( Fiberglass) 2 . เส้นใยเหล็ก (Steel cord) ได้แก่ ขดลวดสแตนเลส
Q : ท่อยางเสริมแรงแบ่งได้กี่ประเภท
A : แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
ท่อส่ง (Delivery hose) การใช้งานจะคำนึงเรื่องความดัน

ท่อดูด (Suction hose) การใช้งานจะคำนึงถึงเรื่องการยุบตัวของท่อ
Q : ข้อมูลจำเพาะของท่อยางเสริมแรงทีต้องทราบ
A : – เส้นผ่านศูนย์กลางภายนอกของท่อยาง ( Outside Diameter : O.D.) – เส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อยาง ( Inside Diameter : I.D.) – เส้นผ่านศูนย์กลางภายในของท่อยาง ( Inside Diameter : I.D.) – แรงดันใช้งาน (Work Pressure : WP) – แรงดันระเบิด (Burst Pressure : BP) – ความแข็งของท่อ ( Hardness)
Q : กระบวนการผลิตท่อยางเสริมแรง A :

Q : วิธีการเลือกท่อเสริมแรงให้เหมาะสมกับการใช้งาน
A : เพื่อให้ง่ายต่อการจำและนำไปใช้งาน จึงกำหนดตัวย่อ STAMPED ซึ่งมีความหมายดังนี้ S: Size (ขนาดและพิกัดของท่อ) ,T : Temperature (อุณหภูมิ),A : Application (การใช้งาน),M : Materials (วัสดุ),P : Pressure (แรงดัน),E : Ends (ปลายท่อ)และ D : Delivery (การขนส่ง)
Q : มาตรฐานที่รองรับการออกแบบระบบท่อมีอะไรบ้าง

American National Standard Institute (ANSI) เป็นองค์กรเอกชนที่ทำงานด้สานการกำหนด พัฒนา และอนุมัติมาตรฐานต่างๆทั่วไป ของสหรัฐอเมริกา

American Petroleum Institute (API)องค์กรนี้มีบทบาทเกี่ยวข้องในกิจการด้านปิโตรเลียมของประเทศสหรัฐอเมริกา บทบาทของ API อาทิเช่น การวิจัยพัฒนา การเก็บข้อมูลสถิติ การออกมาตรฐานและการรับรองมาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานส่วนหนึ่งที่ออกโดย API จะเป็นมาตรฐานเกี่ยวกับงานท่อในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม

American Society of Heating ,Refrigerating and Air – Conditioning Engineers (ASHRAE)มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศาสตร์และศิลป์ของการออกแบบระบบทำความร้อน ระบบทำความเย็นและระบบปรับอากาศ เนื่องจากระบบเหล่านี้มีท่อเป็นส่วนประกอบหลัก มาตรฐาน ASHRAE จึงมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบท่อด้วย

American Society of Mechanical Engineers (ASME) มีบทบาทในการพัฒนาศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล โดยมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบระบบท่อที่สำคัญคือ มาตรฐานเกี่ยวกับหม้อไอน้ำและถังความดัน และมาตรฐานสำหรับการออกแบบท่อความดัน (ASME B31 Series) โดยในส่วนของมาตรฐานการออกแบบระบบท่อความดัน

American Society of Testing and Materials (ASTM) ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับวัสดุเป็นหลัก

American Water Work Association (AWWA) เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรในรูปแบบของสมาคมวิชาชีพด้านการจัดการน้ำ

Factory Mutual Research Corporation (FM) เป็นหน่วยงานมุ่งรักษาทรัพย์สินสาธารณะ ด้วยการกำหนดมาตรฐานของอุปกรณ์ต่างๆ และให้การรับรองในด้านความปลอดภัย ต่อการเกิดเพลิงไหม้ของอุปกรณ์ทางไฟฟ้า

International Organization for Standardization (ISO)เป็นเครือข่ายขององค์กรที่รับผิดชอบด้านการกำหนดมาตรฐานของ 157 ประเทศ (ข้อมูลปี 2551) โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ISO ก็มีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องมากมาย เช่น มาตรฐานของ ท่อ วาล์ว และปั้ม

National Fire Protection Association (NFPA) เป็นองค์กรทางวิชาการเกี่ยวกับการป้องกัน และควบคุมเพลิงไหม้ ซึ่งมาตรฐานที่ออกโดย NFPA เป็นที่ยอมรับยึดถือเป็นแนวทางในการออกแบบระบบท่อดับเพลิง

National Sanitation Foudation (NSF) เป็นองค์กรที่ดูแลและกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบสาธารณูปโภค เช่นมาตรฐานของระบบท่อน้ำดื่ม

Underwriters Laboratories (UL)เป็นองค์กรอิสระที่ทำงานด้านความปลอดภัยเป็นหลัก องค์กรนี้ทำการทดสอบออกข้อกำหนด มาตรฐาน และให้การรับรอง วัสดุ อุปกรณ์ และ ผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีผลต่อความปลอดภัยของสาธารณะชน
ท่านสามารถปรึกษา สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยางได้ที่
